วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ภัยธรรมชาติ


ความหมายของภัยพิบัติธรรมชาติ
         
      ภัยพิบัติธรรมชาติ  หรือคำในภาษาอังกฤษ Natural Disasters  หมายถึง เหตุการณ์ที่อาจเกิดจากธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่อาจเกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วนหรือค่อย ๆ เกิด มีผลต่อชุมชนหรือประเทศชาติ ภัยพิบัติอาจเป็นได้ทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น อุทกภัย หรือเป็นเหตุการณ์ที่มนุษย์กระทำขึ้น เช่น การแพร่กระจายของสารเคมี เป็นต้น






รูปแบบของภัยพิบัติธรรมชาติ

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ( Natural Disasters) รูปแบบต่าง ๆ ทางธรรมชาติที่ได้มีการศึกษารวบรวม และบันทึกรายละเอียดไว้ อาจสรุปได้เป็น 10 ประเภท คือ
1. การระเบิดของภูเขาไฟ ( Volcano Eruptions)
2. แผ่นดินไหว ( Earthquakes)
3. คลื่นใต้น้ำ ( Tsunamis)
4. พายุในรูปแบบต่าง ๆ ( Various Kinds of storms) 
5. อุทกภัย ( Floods)
6. ภัยแล้ง หรือทุพภิกขภัย ( Droughts)
7. อัคคีภัย ( Fires)
8. ดินถล่ม และโคลนถล่ม ( Landslides and Mudslides)
9.  พายุหิมะและหิมะถล่ม (Blizzard and Avalanches) และ
10. โรคระบาดในคนและสัตว์ ( Human Epidemics and Animal Diseases) 

เสียงจากธรรมชาติ


 

         เราคงเลยได้ยินกันมามั่งแล้วว่าเสียงเกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ เช่นน้ำกระทบฝั่ง นกร้อง เสียงเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเสียงจากธรรมชาติทั้งสิ้น
      เสียงให้ความเพลินเพลินได้ เสียงจากธรรมชาติก็เช่นกัน ช่วยให้ผ่อนคลายและเกิดความสงบอีกด้วย


การเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ


1. เตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์เลวร้ายที่สุด

เพราะเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น สิ่งต่างๆ ที่เคยคุ้นเคย จะเปลี่ยนไป ขาดแคลน หรือไม่มีอีกต่อไป ดังนั้น เตรียมการล่วงหน้าซะก่อน ดีกว่าจะไปหาเอาหลังจากเกิดภัยพิบัติแล้ว: อาหาร ยา วิธีจุดไฟ แหล่งจ่ายไฟ แสงสว่าง เครื่องมือจุดไฟ มีดพร้า แม่แรง น้ำมัน พาหนะ ที่พักชั่วคราว เผื่อแผ่คนอื่นบ้าง ฯลฯ

2. อย่าตกใจจนสติแตก

การไม่มีสติ ยากจะตัดสินใจได้ดี เมื่อเกิดภัยพิบัติ เป็นปฏิกริยาของมนุษย์ที่มีอาการตกใจเป็นธรรมดา แต่ถึงอย่างไร มันก็ผ่านไปแล้ว เลิกบ้ากับมันได้แล้ว ตั้งสติพิจารณาความเสี่ยงให้ดี ถ้าเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ในเวลาที่เกิด เคลื่อนที่เข้าหา “สามเหลี่ยมปลอดภัย” เมื่อแผ่นดินไหวจบแล้ว ย้ายออกจากสิ่งปลูกสร้างโดยเร็วที่สุด ไม่ต้องโชว์ความกล้าหาญหรือบ้างานขึ้นมากระทันหัน

3. รอความช่วยเหลือ

ถ้าสถานที่ที่ประสบภัยไม่ได้อยู่ในสถานการณ์นรกแตก (เช่นไฟไหม้ หรือบ้านเรือนหายหมดมีคนตายเยอะ) สถานที่ที่ดีที่สุดที่จะรอความช่วยเหลือก็คืออยู่ตรงนั้นแหละ พยายามรวมกลุ่มไว้

4. อยู่รอดให้ได้หลังภัยพิบัติ

อะไรที่เคยมี อาจไม่มีแล้ว แต่ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป มีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ตีโพยตีพายอะไรไปก็ไม่มีประโยชน์; ในสถานการณ์แบบนี้ ควรช่วยเหลือกัน เนื่องจากกลยุทธ์ “เห็นแก่ตัว” หรือ “ดีแต่พูด” ไม่ช่วยอะไรเลย — ชีวิตในปัจจุบัน ซับซ้อนจนไม่มีใครสามารถจะทำอะไรได้ทุกอย่าง เนื่องจากไม่มีทั้งความรู้ ความชำนาญ ตลอดจนแรงงานเพียงพอที่จะทำทุกอย่างเอง ดังนั้นจึงต้องพึ่งพาผู้ที่ยังรอดอยู่ ซึ่งก็อยู่ในความทุกข์ยากและต้องการความช่วยเหลือเช่นกัน — ถ้าอยากได้ความช่วยเหลือ ก็หัดช่วยคนอื่นซะบ้างครับ










มหันตภัยที่กำลังคุกคามโลกมนุษย์ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต พอสรุปได้ดังนี้
ภัยจากน้ำท่วม และมลภาวะสิ่งแวดล้อม
ภัยจากสงครามเศรษฐกิจ
ภัยจากสงครามพลังจิต
ภัยจากสงครามโลกครั้งที่ ๓
ภัยจากสงครามจักรวาลระหว่างดวงดาว
ภัยจากอุกกาบาตขนาดยักษ์ที่หลุดจากดวงอาทิตย์กำลังเดินทางมาชนโลก
ภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 
1. เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่
2. พายุถล่ม
3. แผ่นดินแยก และแผ่นดินไหว
4. ภูเขาไฟระเบิด
(จังหวัดทางภาคกลาง 2 ลูก, ภาคเหนือตอนล่าง 3 ลูก, อีกทั้งที่จังหวัดราชบุรี / น่าน / แพร่ / อ.ร้องกวาง )
5. คลื่นยักษ์จากทะเล
6. โรคระบาดที่สุดจะเยียวยา ได้แก่ LISTERIA , อหิวาตกโรคสายพันธุ์ใหม่ ผู้ได้รับเชื้อจะเสียชีวิตทันที ภายใน 6 วัน
7. คลื่นเสียงที่รุนแรง ตั้งแต่เกิดมาในชีวิตจะไม่เคยได้ยินเสียงที่ดังขนาดนั้นมาก่อน
8. อดอยากขาดแคลนอาหาร
การเตรียมตัว เตรียมปัจจัยเพื่อตนเองและสมาชิกในครอบครัว
1. เตรียมอาหารและน้ำดื่มไว้ที่บ้านอย่างน้อย 3 – 6 เดือน
2. เครื่องนุ่งห่มเพื่อความอบอุ่นของร่างกาย
ได้แก่เสื้อผ้า กระเป๋าน้ำร้อน ผ้าห่ม ฯลฯ เพราะในช่วงเวลานั้นอากาศจะหนาวเย็นยะเยือกจับขั้วหัวใจ
3. เครื่องใช้ที่จำเป็น
4. ที่อยู่อาศัย
5. ยารักษาโรค
6. ด่างทับทิมและคาราไมล์ (จำเป็นมาก)
ห้ามกินอาหารที่ไม่ได้ล้างด้วยด่างทับทิม เพราะจะมีทั้งเชื้อโรคและสารกัมมันตรังสี
ส่วนคาราไมล์ จะมีไว้รักษาโรคทางผิวหนังที่ดูเหมือนจะยากต่อการรักษา แต่เมื่อทาคาราไมล์แล้ว จะหายได้อย่างน่าอัศจรรย์
7. ยานพาหนะ เช่น เรือ เสื้อชูชีพ
8. เครื่องช่วยชีวิต
9. แสงสว่าง เช่นเทียน ตะเกียงพายุ (อย่างน้อย 49 วัน ไฟฟ้าจะดับทั่วโลก)
10. เตรียมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.arsadusit.com/1608

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คุณประโยชน์จากธรรมชาติ


ธรรมชาติ สร้างสรรค์สิ่งดีๆ  มีคุณประโยชน์มากมาย  ให้แก่มวลมนุษย์บนโลกใบนี้  
ที่สำคัญอันได้แก่  ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ   นั่นเอง



ดิน ให้ประโยชน์ในการสร้างที่อยู่อาศัย เพาะปลูกธัญาหารพืชผักและผลไม้รวมทั้งประโยชน์จากป่าด้วย

น้ำ ใช้ประโยชน์ในการใช้ดื่มกินอาบและใช้สอยอื่นๆ เช่น การเพาะปลูก

ลม ให้ประโยชน์เพื่อบรรเทาความร้อน ทำให้จิตใจเย็นสบาย

ไฟ ให้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิง ให้ความร้อนแสงสว่าง และให้ความอบอุ่น (รวมถึงแสงแดดด้วย)
  
            จากสิ่งที่กล่าวมานั้นอาจจะดูธรรมดา แต่หากขาดธรรมชาติไปมนุษย์ก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
เพราะฉะนั้นเราจึงควรที่จะใส่ใจดูและรักษาธรรมชาติด้วย หากขาดไปแล้วจะต้องเกิดอะไรกับสิ่งมีชีวิตมั่งก็ไม่อาจประเมินค่าได้



ระบบนิเวศธรรมชาติ

ชีวิตทุกชีวิตที่เกิดขึ้นในชีวบริเวณนั้น ต่างเกิดมาได้ เพราะมีชีวิตอื่นๆ เกื้อหนุน ซึ่งชีวิตทุกชีวิตมิอาจเกิดและมีชีวิตอยู่ได้ ในสภาวะลำพังโดดเดี่ยว โดยไม่มีความสัมพันธ์ถึงสิ่งแวดล้อมอื่นๆ และภายใต้ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมนี้ เราเรียกว่า ระบบนิเวศ 

ระบบนิเวศ
 หมายถึง ระบบของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ได้ด้วยตัวเอง และมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ 

สิ่งแวดล้อม
 หมายถึง กลุ่มหรือหมู่ของสิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิตอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ 

ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ในระบบนิเวศ แบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ 

๑.เป็นความผูกพัน พึ่งพากัน หรือส่งผล ต่อกันระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง

๒.เป็นความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตที่แวดล้อมมันอยู่ 

ซึ่งลักษณะความสัมพันธ์ทั้ง ๒ ประการ นี้ จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และมีอยู่ในทุกระบบนิเวศ และความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต กับสิ่งแวดล้อมก็คือ การถ่ายทอดพลังงาน และการแลกเปลี่ยนสสาร ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์อย่างมีระเบียบ ภายในระบบ ทำให้ระบบอยู่ในภาวะที่สมดุลนั้น คือ 

การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตจะได้พลังงานโดยตรงมาจากดวงอาทิตย์ ซึ่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ จะถูกตรึงไว้ในชีวบริเวณด้วยขบวนการสังเคราะห์แสง ของพืชสีเขียว ทำให้มีการเจริญเติบโต และเป็นอาหารให้กับสัตว์ ขณะเดียวกันตลอดระยะเวลาของการเติบโตของพืชสีเขียว มันก็จะปล่อยก๊าซออกซิเจน ที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการหายใจของพืชและสัตว์ 
ระบบนิเวศนั้น มีอยู่ทุกหนทุกแห่งในโลก ที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสังคมของสัตว์และพืช หรือจุลินทรีย์ที่เล็กที่สุด ซึ่งทุกๆ ชีวิตต่างมีระบบของมันเอง ขณะเดียวกันก็สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมของมันด้วย ตัวอย่างเช่น ไม่ว่าจะเป็นในดิน น้ำ หรืออากาศ ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดก็ตาม เมื่อเกิดมีสิ่งมีชีวิตขึ้น ตามระบบของธรรมชาติแล้ว สิ่งมีชีวิตนั้นๆ จะค่อยๆ วิวัฒนาการ สร้างความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบมากขึ้น และนำเอาธรรมชาติรอบข้างนั้น มาใช้เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของมัน ชีวิตใดที่สามารถใช้ประโยชน์จากธรรมชาติได้มากกว่าชีวิตอื่น มันก็อยู่รอดได้ ขณะที่ชีวิตที่อ่อนแอกว่าจะสูญสลายไปในที่สุด ขณะเดียวกัน ที่มันมีความสามารถในการดึงเอาธรรมชาติรอบข้างมาใช้ ในการเจริญเติบโต ในระบบของสิ่งมีชีวิต ก็จะสร้างความต้านทานต่อสิ่งรบกวน ที่จะเข้ามาทำอันตรายมันด้วยตลอดเวลา เพราะฉะนั้นสิ่งมีชีวิตใดที่มีวิวัฒนาการ ของการสร้างระบบความเจริญเติบโตในชุมชนได้มากเท่าใด แรงต้านทานก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ความซับซ้อนในระบบนิเวศก็ยิ่งเพิ่มขึ้นตาม วิวัฒนาการการเจริญเติบโตของสังคมสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ จนกลายเป็นความสมดุลในระบบธรรมชาติ